ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของนางสาวศิริวรรณ แก้วประสิทธิ์ ค่ะ

วันอาทิตย์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2556

บันทึกความรู้ ครั้งที่ 16 วันที่ 27 เดือนกันยายน 2556

วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย


เวลา 13.30 - 16.40 น.




- วันนี้เป็นวันสุดท้ายของการเรียนการสอนของปีการศึกษานี้

- เริ่มด้วยที่ครูโบว์ให้ทำ แผนผังความคิด หัวข้อ ความรู้ที่ได้รับจากการเรียน โดยได้ทำแผนผัง     ความคิดออกมาดังนี้


- จากนั้นก็ได้บอกแนวข้อสอบให้นักศึกษาได้ทราบ


          และสุดท้ายครูโบก็ได้อวยพรให้ทำข้อสอบได้




ความรู้ที่ได้รับจากการเรียนในวันนี้

1.ได้สรุปความรู้ทั้งหมดออกมาทำให้รู้ว่าเราได้เรียนอะไรไปบ้าง

2.ได้รับประสบการณ์มากมายจากการเรียนวิชานี้




วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกความรู้ ครั้งที่ 15 วันที่ 20 เดือนกันยายน 2556

วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย


เวลา 13.30 - 16.40 น.



- วันนี้มาถึงครูโบว์ก็เปิดวิดีโอจากโทรทัศน์ครูเรื่องภาษาธรรมชาติให้ดู



- จากนั้นก็ให้แบ่งกลุ่มละ 5 คน แล้วให้ฝึดทำกิจกรรมหน่วยการเรียนรู้

   กลุ่มฉันทำหน่วยการเรียนรู้เรื่อง ผีเสื้อ

  วัตถุประสงค์
      
          เพื่อให้เด็กเรียนรู้เรื่องวัฏจักรของผีเสื้อ  ว่าผีเสื้อเกิดขึ้นได้อย่างไร

  สาระการเรียนรู้
  
           ธรรมชาติรอบตัว

  ขั้นนำ
       
         เราจะนำเข้าสู่บทเรียนด้วยการพาเด็กร้องเพลง

ต้วมๆ เตี้ยมๆ ออกมาจากไข่ เจ้าหนอนตัวใหญ่ ลูกใครกันหนอ

กระดึ๊บ กระดึ๊บไป กระดึ๊บ กระดึ๊บไป กระดึ๊บ กระดึ๊บไป กระดึ๊บ กระดึ๊บไป


กระดึ๊บ ดึ๊บไป บนใบไม้อ่อน กัดกัด กินกิน อิ่มแล้วก็นอน แล้วเจ้าหนอน ก็ชักใยหุ้มตัว ฯลฯ

 ขั้นสอน


1. เราจะนำขวดโหลที่มี ตัวผีเสื้อ , ไข่ , หนอน , ดักแด้  มาให้เด็กดู

     2. แล้วจะให้เด็กบอกว่า เด็ก ๆ เคยเห็นช่วงไหนบ้าง







 ขั้นสรุป

        ให้นักเรียนและครูช่วยกันบอกความหมาย และวัฏจักรของผีเสื้อ


 ขั้นประเมิน

        1. การสังเกต

        2. การประเมินผล






ความรู้ที่ได้รับจากการเรียนในวันนี้

1. ได้รู้วิธีการคิดการทำหน่วยการเรียนให้เด็กปฐมวัย



วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกความรู้ ครั้งที่ 14 วันที่ 13 เดือนกันยายน 2556

วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย


เวลา 13.30 - 16.40 น.




-  วันนี้ครูโบว์ได้นำรูป การจัดมุมต่างๆมาให้ดู ทำให้รูว่าเราควรจะจัดทำมุมต่างๆอย่างไร ซึ่งตัวอย่างมุมที่นำมาให้ดูนั้นก็นำมาจากโรงเรียนในต่างประเทศเป็นส่วนมาก








- จากนั้นก็แบ่งเป็นกลุ่มละ 5 คน แล้วให้คิดการจัดมุมตามจินตนาการของแต่ละกลุ่ม จะเป็นมุมใดก็ได้แล้วแต่จะมีความคิดอย่างไร

ซึ่งกลุ่มของดิฉันก็ได้ทำมุม ยานพาหนะ ค่ะ







ความรู้ที่ได้รับจากการเรียนในวันนี้

1. การจัดมุมนั้นเราจะเอาตามความพอใจของเราไม่ได้ เราต้องถามความสนใจจากเด็กอีกด้วย




บันทึกความรู้ ครั้งที่ 13 วันที่ 6 เดือนกันยายน 2556

วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย


เวลา 13.30 - 16.40 น.



- วันนี้ครูโบเข้ามาที่แล้วเริ่มเปิดเพลง ครอบครัวกระต่าย  

  แล้วเรียกให้เพื่อนออกไปเต้นประกอบเพลง 3 คน

                                มีเนื้อเพลงดังนี้
    
พ่อกระต่าย แม่กระต่าย ลูกกระต่าย 
 มีบ้านอยู่ตามโพรงดินในป่า
ชอบกินๆ ยอดผัก ชอบนักก็ต้องยอดหญ้า 
 ชอบวิ่งไปมาตล๊อบๆ
พ่อกระต่ายแม่กระต่ายลูกกระต่าย 
อยู่กันอย่างสบายในป่า
เพื่อนบ้านเขาเป็นนกกา เพื่อนรักเขาเป็นตัวตุ่น 
วิ่งเล่นกันชุลมุน ตล๊อบๆ


- เนื้อหาของวันนี้

  1.การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อสร้างประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย 

         สร้างสภาพแวดล้อมให้เด็กคุ้นเคยกับการการใช้ภาษาอย่างมีความหมายสำหรับเด็กปฐมวัย
         เด็กได้ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะทางภาษาโดยไม่เน้นเนื้อหา

  2.หลักการและความสำคัญการจัดสภาพแวดล้อม

         สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ของเด็ก
         สิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับบุคคลรอบข้าง

  3.มุมประสบการณ์เพื่อสนับสนุุนการเรียนรู้และสาระทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

         มุมหนังสือ มุมบทบาทสมมติ มุมศิลปะ มุมดนตรี ฯลฯ

  4.ลักษณะการจัดมุมในชั้นเรียนที่สังเสริมทักษะทางภาษา

         มีพื้นที่ให้เด็กสามารถทำกิจกรรมได้
         เด็กรู้สึกผ่อนคลายเมื่ออยู่ในมุม
         บริเวณใกล้ๆ มีอุปรณ์
         เด็กมีส่วนร่วมในการวางแผน  ออกแบบ

  5.สื่อสนับสนุนการเรียนรู้และสาระทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย


         สื่อของจริง สื่อของจำลอง ภาพถ่าย ภาพโครงร่าง สัญลักษณ์


- และวันนี้ครูโบว์ก็ให้คัด ก-ฮ แบบหัวกลมตัวเหลี่ยม





ความรู้ที่ได้จากการเรียนในวันนี้

1. ได้รู้วิธีของการเขียนตัวหนังสือที่ถูกต้อง เพราะต่อไปในอนาคตจะต้องเขียนตัวอักษรให้สวยงาม เพราะ      เด็กๆจะจดจำตัวอักษรที่คุณครูเขียนไปให้




บันทึกความรู้ ครั้งที่ 12 วันที่ 30 เดือนสิงหาคม 2556

วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย


เวลา 13.30 - 16.40 น.



- วันนี้ครูโบให้จับกลุ่มละ 5-6 คน  แล้วให้แต่ละกลุ่มคิดทำสื่อการเรียนทางด้านภาษา                 โดยมีภาพกิจกรรม ดังนี้ 









เมื่อเสร็จแล้ว ครูโบก็ให้แต่ละกลุ่มก็ออกมาอธิบายเกี่ยวสื่อ ดังหัวข้อต่อไปนี้

  1.ชื่อสื่อ

  2. เพลงที่เกี่ยวกับสื่อ

  3. ทฎษฎีต่างเกี่ยวกับสื่อนั้นๆ

  4. วิธีการเล่น

  5. ประโยชน์ของการใช้สื่อนั้นๆ


เนื้อหาที่กลุ่มฉันได้ออกมานำเสนอ

  1.ชื่อสื่อ my body  :ซึ่งเชื่อมโยงกับทฤษฎีของ เพียเจต์

เด็กวัยนี้เริ่มมีความคิดรวบยอด รู้จักแยกแยะประเภทและชิ้นส่วนของวัตถุ  เด็กไม่วิเคราะห์อย่างถี่ถ้วน  

แต่การคิดหาเหตุผลของเด็กวัยนี้ขึ้นอยู่กับสิ่งที่ตนรับรู้  หรือสัมผัสจากภายนอก
   
    ประโยชน์ของสื่อคือ สามารถนำสื่อการเรียนการสอนนี้ไปใช้ทำกิจกรรมกับเด็กๆ และเด็กจะได้เรียนรู้

เรื่องอวัยวะต่างๆของร่างการตัวเองได้ และทักษะที่เด็กจะได้รับคือ  เด็กสามารถจดจำอวัยวะต่างๆในร่างกาย

ตัวเองได้  รวมถึงคำศัพท์ภาษาอังกฤษพื้นฐานที่เกี่ยวกับอวัยวะต่างๆในร่างกายที่ใช้ในชีวิตประจำวัน

       




ความรู้ที่ได้รับจากการเรียนในวันนี้

1. ได้รู้วิธีการทำสื่อการเรียนการสอน



                                                

บันทึกความรู้ ครั้งที่ 11 วันที่ 23 เดือนสิงหาคม 2556

วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย


เวลา 13.30 - 16.40 น.



- วันนี้ครูโบสอนเนื้อหาเกี่ยวกับสื่อการเรียนรู้ทางภาษา 

โดยมีเนื้อหาดังนี้ 


ความหมายของสื่อ 


     วัสดุ อุปกรณ์ เพื่อกระตุ้น ส่งเสริม จูงใจ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ

ความสำคัญทางภาษา

   
     เรียนรู้ได้ดีจากประสาทสัมผัส เข้าใจง่าย เป็นรูปธรรม จำได้ง่าย รวดเร็ว

ความสำคัญของสื่อ


1. เป็นเครื่องมือส่งเสริมเด็กให้กล้าแสดงออกและเกิดการเรียนรู้ อย่างมีประสิทธิภาพ 

2. เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ ทัศนคติ ค่า นิยม หรือทักษะของผู้สอนไปสู่ผู้เรียน

3. เป็นเครื่องมือเร้าความสนใจของเด็ก ให้ติดตามเรื่องราวด้วย ความสนใจ และไม่เกิดความรู้สึกว่าเป็นการ    “เรียน” 

4. เป็นเครื่องมือทำสิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรม และผู้เรียน ได้รับประสบการณ์ตรงทำให้จำได้นาน


ประเภทสื่อการเรียนการสอน


1. ทัศนวัสดุ (Visual Materials) เช่น กระดานดำ กระดานผ้าสำลี) แผนภูมิ รูปภาพ            ฟิล์มสตริป สไลด์ ฯล

2. โสตวัสดุ (Audio Materisls ) เช่น เครื่องบันทึกเสียง (Tape Recorder)                เครื่องรับวิทยุ ห้องปฏิบัติการทางภาษา ระบบขยายเสียง ฯลฯ

3. โสตทัศนวัสดุ (Audio Visual Materials) เช่น ภาพยนตร์ โทรทัศน์ ฯลฯ

4. เครื่องมือหรืออุปกรณ์ (Equipments) เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ 
   เครื่องฉายฟิล์มสตริปเครื่องฉายสไลด์

5. กิจกรรมต่าง ๆ (Activities )เช่น นิทรรศการ การสาธิต ทัศนศึกษา ฯลฯ


- จากนั้นครูโบว์ได้สอนให้ทำสื่อตั้งได้

     ซึ่งสื่อตั้งได้ของฉันก็คือ






ความรู้ที่ได้จากการเรียนในวันนี้

1. ได้รู้วิธีการทำสื่อตั้งได้


บันทึกความรู้ ครั้งที่ 10 วันที่ 16 เดือนสิงหาคม 2556

วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย


เวลา 13.30 - 16.40 น.



วันนี้เราได้เรียนกับคุณครูโบว์ เป็นวันแรกครูโบว์บอกว่าเราจะได้เรียนกับครูโบว์จนหมดเทอม  ครูโบว์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มและทำกิจกรรมสื่อการเรียนการสอน

ฉันได้ระบายสีกบและตัดปากให้สามารถขยับได้








       
  เมื่อทุกกลุ่มทำเสร็จแล้วครูโบว์ก็ให้ส่งตัวแทนของกลุ่มออกพูดว่ากลุ่มทำกิจกรรมใดและสามารถนำไปใช้ได้อย่างไร 

- เนื้อหาของวันนี้

ความหมายของสื่อการเรียนการสอน

   สื่อการเรียนการสอนเป็นตัวกลางซึ่งมีความสำคัญในกระบวนการเรียนการสอนมีหน้าที่เป็นตัวนำความต้องการของครูไปสู่ตัวนักเรียนอย่างถูกต้องและรวดเร็ว เป็นผลให้นักเรียนเปลี่ยน,แปลงพฤติกรรมไปตามจุดมุ่งหมายการเรียนการสอนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม สื่อการสอนได้นำไปใช้ในการเรียนการสอนตลอด และยังได้รับการพัฒนาไปตาการเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งก้าวหน้าไปไม่หยุดยั้ง นักการศึกษาเรียกชื่อการสอนด้วยชื่อต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์การสอน โสตทัศนูปกรณ์ เทคโนโลยีการศึกษา สื่อการเรียนการสอน สื่อการศึกษาเป็นต้น 


ประเภทของสื่อการเรียนการสอน


1.สื่อประเภทวัสดุ ได้แก่ สื่อเล็ก ซึ่งทำหน้าที่เก็บความรู้ในลักษณะของภาพเสียง และ อักษรในรูปแบบต่าง ๆ ที่ผู้เรียนสามารถใช้เป็นแหล่งหาประสบการณ์ หรือศึกษาได้อย่างแท้จริงและกว้างขวาง แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ

   1.1 วัสดุที่เสนอความรู้ได้จากตัวมันเอง ได้แก่หนังสือเรียนหรือตำราของจริงหุ่นจำลอง รูปภาพ แผนภูมิ แผนที่ ป้ายนิเทศ เป็นต้น

   1.2 วัสดุที่ต้องอาศัยสื่อประเภทเครื่องกลไก เป็นตัวนำเสนอความรู้ได้แก่ฟิล์มภาพยนตร์ แผ่นสไลด์ ฟิล์มสตริป เส้นเทปบันทึกเทป รายการวิทยุ รายการโทรทัศน์ รายการที่ใช้เครื่องช่วยสอน เป็นต้น

2. สื่อประเภทเครื่องมือ หรือโสตทัศนูปกรณ์ ได้แก่ สื่อใหญ่ ที่เป็นตัวกลางหรือทางผ่านของความรู้ ที่ถ่ายทอดไปยังครูและนักเรียน สื่อประเภทนี้ตัวมันเองแทบไม่มีประโยชน์ต่อการสื่อความหมายเลยถ้าไม่มีใครรู้ในรูปแบบต่าง ๆ มาป้อนผ่านเครื่องกลไกลเหล่านี้ สื่อประเภทนี้จึงจำเป็นต้องอาศัยสื่อประเภทวัสดุ บางชนิดเป็นแหล่งความรู้ให้มันส่งผ่าน ซึ่งจะทำให้ความรู้ที่ส่งผ่านมีการเคลื่อนไหวไปสู่นักเรียนจำนวนมาก ได้ไกลๆ และรวดเร็ว และบางทีก็ทำหน้าที่เหมือนครูเสียเอง เช่น เครื่องช่วยสอน ได้แก่เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องเล่นแผ่นเสียง เครื่องบันทึกเสียง เครื่องรับวิทยุ เครื่องฉายภาพนิ่งทั้งหลาย 

3.สื่อประเภทเทคนิคหรือวิธีการ ตัวกลางในกระบวนการเรียนการสอนไม่จำเป็นต้องใช้แต่วัสดุหรือเครื่องมือเท่านั้น บางครั้งจะต้องใช้เทคนิคและกลวิธีต่าง ๆ ควบคู่กันไป โดยเน้นที่เทคนิคและวิธีการเป็นสำคัญ



ความรู้ที่ได้รับจากการเรียนในวันนี้

1. ได้เรียนรู้เรื่องสื่อการเรียนการสอน

2. ได้รู้เรื่องประเภทของสื่อการเรียนการสอน

3. ได้รู้คำทักทายของประเทศต่างๆในอาเซียน



จำนวนการดูหน้าเว็บรวม